การเปิดคลินิกในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแค่การมีบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญเท่านั้น แต่ยังต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ต้องมีมาตรฐาน ปลอดภัย และใช้งานได้จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ เพราะสิ่งเหล่านี้คือเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัย การรักษา การติดตามผล และการบริการผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ เห็นผลได้จริง ไม่ว่าจะเป็น คลินิกเวชกรรมทั่วไป คลินิกพยาบาล คลินิกความงาม คลินิกทันตกรรมหรือคลินิกเฉพาะทางก็ตาม ต่างก็มีรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย และมีอุปกรณ์ที่จำเป็นแตกต่างกันไป
อย่างไรก็ตาม จะต้องมีอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกคลินิกควรมี เพื่อรองรับการรักษาเบื้องต้น รวมถึงกลุ่มอุปกรณ์เฉพาะที่ต้องใช้ในหัตถการเฉพาะทางด้วย การเตรียมอุปกรณ์เปิดคลินิกพยาบาลอย่างถูกต้องและครบถ้วน ไม่เพียงช่วยให้การให้บริการเป็นไปอย่างราบรื่น แต่ยังมีผลต่อภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และมาตรฐานของคลินิกอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมาก การเริ่มต้นด้วยความพร้อมที่รอบด้านจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เราจะมาดูกันว่ากลุ่มอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการเปิดคลินิกตามมาตรฐานการเปิดคลินิกพยาบาล และประเภทคลินิกอื่น ๆ ซึ่งครอบคลุมทั้งเวชกรรม ศัลยกรรม ทันตกรรม และบริการด้านความงาม และเครื่องมือเฉพาะกลุ่มที่ตอบโจทย์แต่ละประเภทอย่างครบถ้วนมีอะไรบ้าง เพื่อให้คนที่อยากเป็นเจ้าของคลินิกสามารถเตรียมความพร้อมได้อย่างมั่นใจในตั้งแต่วันแรก
รวม 14 กลุ่มอุปกรณ์เปิดคลินิกที่ควรมี มีอะไรบ้าง?
กลุ่มอุปกรณ์เปิดคลินิกพยาบาลทั่วไปต่าง ๆ
ก่อนอื่นเรามาดูในหมวดหมู่ของอุปกรณ์ทั่วไป ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของคลินิกทุกแห่งที่จำเป็นต้องมี สำหรับเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในห้องตรวจเบื้องต้นและบริการทั่วไป ได้แก่
- เตียงตรวจผู้ป่วย ที่ปรับระดับได้หรือมีที่วางขา
- โคมไฟตรวจ ได้ทั้งแบบตั้งพื้นหรือแขวน
- เก้าอี้แพทย์และเก้าอี้ผู้ป่วย
- โต๊ะหรือรถเข็นสำหรับวางอุปกรณ์การแพทย์
- ถาดวางเครื่องมือสแตนเลส (Stainless Tray)
- ตู้หรือชั้นเก็บยา/เวชภัณฑ์เฉพาะทางความงาม เช่น สำหรับเก็บ Botox วัคซีน หรือยาชา เป็นต้น
อุปกรณ์เหล่านี้ เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้คลินิกดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรเลือกที่มีคุณภาพ และมีการรับประกันจากผู้จำหน่ายที่เชื่อถือได้
กลุ่มครุภัณฑ์ทั่วไป
ครุภัณฑ์ในคลินิก คืออุปกรณ์ถาวรที่ใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ โดยควรมีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ สะดวกต่อการใช้งาน และมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่
- เตียงผู้ป่วยพร้อมระบบปรับระดับ
- รถเข็นและเปลนอน
- โต๊ะคร่อมเตียงหรือเก้าอี้สำหรับเจาะเลือด
- ตู้ยาและตู้เก็บอุปกรณ์
กลุ่มอุปกรณ์ศัลยกรรมและไหมเย็บแผล
แม้ว่าบางคลินิกจะไม่ใช่คลินิกที่ทำหัตถการขนาดใหญ่ แต่การเตรียมพร้อมอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการทำแผล หรือเย็บแผลเบื้องต้น ก็เป็นสิ่งที่ควรมี ได้แก่
- ชุดเครื่องมือทำแผล
- เข็มเย็บแผลและไหมเย็บแผล
- คีมจับเข็มและกรรไกรตัดไหม
- ถาดสแตนเลส
- น้ำยาและอุปกรณ์ฆ่าเชื้อ
กลุ่มอุปกรณ์ในห้องแลปและเตรียมหัตถการของคลินิกความงาม
1. อุปกรณ์เตรียมยาและสารต่าง ๆ
- เครื่องชั่งดิจิทัลความละเอียดสูง ใช้สำหรับคำนวณผสมยาหรือสาร
- ถ้วยตวง / หลอดตวง / กระบอกตวง
- ถาดเตรียมยา / ถาดแสตนเลส
- เข็มและไซริงค์หลากหลายขนาด
- แคนนูล่า (Cannula) หรือเข็มพิเศษสำหรับหัตถการ
2. อุปกรณ์ปลอดเชื้อ
- เครื่องนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave)
- UV Sterilizer หรือตู้อบฆ่าเชื้อสำหรับเครื่องมือ
- กล่องใส่อุปกรณ์ปลอดเชื้อ
- ถุงซีลปลอดเชื้อ
3. อุปกรณ์ตรวจสอบความปลอดภัย
- pH Test Strip / Digital pH Meter ใช้สำหรับผสมสาร
- เทอร์โมมิเตอร์สำหรับตู้เก็บยา
- บันทึกอุณหภูมิรายวัน
4. อุปกรณ์แยกสารหรือเลือด
- เครื่องปั่นเลือด (Centrifuge) – ถ้ามีบริการ PRP (Platelet Rich Plasma)
- หลอดเก็บเลือด / หลอด PRP / Gel Tube
5. อุปกรณ์สำหรับเก็บและทิ้งวัสดุ
- กล่องทิ้งเข็ม (Sharps Container)
- ถังขยะติดเชื้อ และถุงขยะแยกประเภท
เครื่องมือด้านผิวพรรณ / เลเซอร์
- IPL / Nd:YAG / Diode laser ใช้สำหรับเลเซอร์กำจัดขน หรือลดเม็ดสี
- Fractional Laser / CO2 Laser ใช้รักษาหลุมสิว และรอยแผลเป็น
- HIFU / RF / Thermage สำหรับยกกระชับหน้า
- เครื่องโฟโน / Electroporation สำหรับผลักวิตามินเข้าสู่ผิว
- Dermapen / Microneedling + หัวเข็มแบบเปลี่ยนได้
- เครื่องกรอผิว (Microdermabrasion)
- ปืนฉีดเมโส (Meso Gun) ในบางคลินิกใช้
กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์วัดความดัน (Blood Pressure Monitor)
อุปกรณ์วัดความดันเป็นเครื่องมือที่ขาดไม่ได้สำหรับทุกคลินิก เพราะจำเป็นในการวินิจฉัยเบื้องต้น หรือตรวจเช็กความพร้อมของร่างกาย ได้แก่
- เครื่องวัดความดันแบบดิจิทัล (Automatic BP Monitor)
- เครื่องวัดความดันแบบปรอท (Mercury BP Monitor)
- สเตทโธสโคป (Stethoscope)
กลุ่มเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์ในห้องผ่าตัด (Operation Instruments)
สำหรับคลินิกที่มีการผ่าตัดเล็ก (Minor Surgery) อุปกรณ์ที่ควรมี ได้แก่
- ชุดผ่าตัดปลอดเชื้อ
- ชุดคลุมและผ้าปูสำหรับผ่าตัด
- มีดผ่าตัดและด้ามจับ
- คีมและกรรไกรแบบต่าง ๆ
- โคมไฟผ่าตัด
กลุ่มเครื่องและอุปกรณ์ตรวจน้ำตาลในเลือด (Blood Glucose System)
เหมาะสำหรับคลินิกเวชกรรม คลินิกเบาหวาน และการตรวจสุขภาพทั่วไป ได้แก่
- เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดแบบพกพา
- แถบทดสอบน้ำตาล
- เข็มเจาะปลายนิ้ว
กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ผลิตออกซิเจน (Oxygen Generator)
โดยเป็นอุปกรณ์จำเป็นในคลินิกที่ดูแลผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ หรือมีภาวะขาดออกซิเจน
- เครื่องผลิตออกซิเจน
- ชุดออกซิเจน เช่น หน้ากากและสายแคนนูลา
- ถังออกซิเจนสำรอง
อุปกรณ์ช่วยเหลือกรณีฉุกเฉินเกี่ยวกับการช่วยหายใจ
โดยคลินิกความงาม อาจไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยหายใจแบบครบชุดเหมือนโรงพยาบาล แต่ต้องมีอุปกรณ์ช่วยหายใจขั้นพื้นฐาน เพื่อรับมือเหตุฉุกเฉิน ได้แก่
- ถังออกซิเจน + หน้ากากให้ออกซิเจน
- เครื่องช่วยหายใจมือบีบ หรือ Ambu Bag
- เครื่องดูดเสมหะแบบพกพา สายดูดเสมหะ และถังเก็บเสมหะพร้อมชุดทำความสะอาด
- Oxygen Flowmeter หรือถังออกซิเจนต้องมีตัวควบคุมการไหล
- เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว (Pulse Oximeter) เพื่อติดตามระดับออกซิเจนในเลือด
- เครื่องตรวจวัดสัญญาณชีพ (Vital Signs Monitor) ถ้ามีการให้บริการที่มีการใช้ยาชาเฉพาะที่ ยาชาน้ำ หรือทำหัตถการที่เสี่ยง
กลุ่มเครื่องมือและอุปกรณ์ฉีดยา-ให้น้ำเกลือ
- Syringe หลากหลายขนาด
- หัวเข็มฉีดยาสำหรับให้สารน้ำ
- สายให้น้ำเกลือ
- ขาตั้งน้ำเกลือ
กลุ่มเวชภัณฑ์สิ้นเปลือง/ปฐมพยาบาล-ทำแผล
- สำลี ผ้าก๊อซ และพลาสเตอร์
- ถุงมือแพทย์และหน้ากากอนามัย
- แอลกอฮอล์และเบตาดีน
- น้ำเกลือล้างแผล
กลุ่มอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรค
- ชุด PPE
- แว่นตาป้องกันละออง
- Face Shield
- เจลแอลกอฮอล์
- ตู้ความดันลบ กรณีที่เป็นคลินิกเฉพาะทางระบบทางเดินหายใจ
กลุ่มอุปกรณ์ดูแลผู้ป่วย
- ที่นอนลมกันแผลกดทับ
- เครื่องวัดไข้ดิจิทัล
- เบาะรองนั่งสุขภาพ
- ไม้เท้าและอุปกรณ์พยุงต่าง ๆ
ลดต้นทุนการเปิดคลินิกด้วยระบบโปรแกรมคลินิกแบบมือโปร
หนึ่งในต้นทุนที่มักถูกมองข้ามในการเปิดคลินิก คือค่าใช้จ่ายจิปาถะที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์จำพวกเอกสาร เช่น กระดาษ ปากกา สมุดจด ใบลงทะเบียน ใบสั่งยา ใบเสร็จ และแฟ้มเอกสารผู้ป่วย ซึ่งในระยะยาวหากไม่บริหารจัดการให้ดี อาจทำให้ต้นทุนบานปลายโดยไม่รู้ตัวได้ รวมทั้งยังต้องมีการออกแบบพื้นที่ที่ใช้จัดเก็บเอกสารเหล่านี้อย่างเป็นระเบียบ เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาในระยะยาวด้วย หลายคลินิกจึงมองหาตัวช่วย นั่นก็คือ ระบบโปรแกรมคลินิกแบบมืออาชีพ ที่ยกระดับการบริการส่วนนี้ให้เป็นระบบ Paperlessหรือการจัดการข้อมูลโดยไม่ต้องใช้กระดาษ ถือเป็นทางออกสำคัญที่จะช่วยให้เจ้าของคลินิกสามารถ ควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างระบบภายในที่ทันสมัย รองรับการเติบโตในระยะยาว
ตัวอย่างต้นทุนที่ลดลงได้เมื่อใช้ระบบ Paperless
- ลดการซื้อกระดาษแบบฟอร์ม ใบสั่งยา ใบเสร็จ ใบรับรองแพทย์
- ไม่ต้องใช้แฟ้มเอกสารหรือตู้เก็บเอกสารขนาดใหญ่ รวมทั้งออกแบบพื้นที่สำหรับจัดเก็บ
- ลดความผิดพลาดจากการเขียนด้วยมือหรือเอกสารสูญหาย
- ลดเวลาการค้นหาข้อมูลประวัติผู้ป่วย
- ลดต้นทุนอุปกรณ์ทั่วไป เช่น ปากกา สมุดจด เครื่องพิมพ์และหมึกพิมพ์
ProClinic พัฒนาโปรแกรมคลินิกโดยเน้นการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ ในการบริหารจัดการให้เจ้าของคลินิกทำงานได้สะดวกและประหยัดมากขึ้น ด้วยฟีเจอร์ที่ลดต้นทุนเรื่องงานเอกสารออกไป ไม่ว่าจะเป็น
- ระบบลงทะเบียนคนไข้แบบดิจิทัล (E-Registration) ไม่ต้องใช้แบบฟอร์มกระดาษให้ยุ่งยาก ลดขั้นตอนหน้าห้อง ตรวจสอบข้อมูลได้แบบเรียลไทม์
- ระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR) เก็บข้อมูลประวัติคนไข้ ภาพถ่ายผลการรักษา และโน้ตแพทย์ได้ในระบบแบบเรียลไทม์ ปลอดภัย ไม่ต้องใช้แฟ้มเอกสาร
- ระบบสั่งยาออนไลน์ (E-Prescription) แพทย์สามารถสั่งยาในระบบ เชื่อมต่อกับคลังยาได้ทันที ไม่ต้องเขียนใบสั่งยา ลดการใช้กระดาษ
- ระบบออกใบเสร็จหรือใบรับรองแพทย์แบบดิจิทัล พิมพ์ใบเสร็จจากระบบ หรือส่งผ่านอีเมล/LINE ให้คนไข้ได้โดยไม่ต้องใช้ใบเสร็จแบบฟอร์ม
- ระบบค้นหาเอกสารย้อนหลัง อัปเดตรายงานแบบอัตโนมัติ ที่ค้นหาไฟล์หรือรายงานย้อนหลังได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาเปิดแฟ้ม หรือจัดเก็บกระดาษให้เปลืองพื้นที่
สำหรับการเปิดคลินิกแล้ว การเลือกจัดเตรียมอุปกรณ์เปิดคลินิกอย่างเหมาะสม เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้คลินิกของคุณดำเนินงานได้อย่างปลอดภัย มีมาตรฐาน และสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าคุณจะเปิดคลินิกเวชกรรม คลินิกความงาม คลินิกพยาบาล หรือคลินิกทันตกรรม การรู้จักเลือกใช้อุปกรณ์ให้ตรงกับประเภทบริการของตนเอง ย่อมช่วยลดต้นทุนในระยะยาว และเพิ่มศักยภาพในการให้บริการได้อย่างมืออาชีพ แต่อย่าลืมว่า การลงทุนในอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ คือ การลงทุนเพื่อความยั่งยืนของธุรกิจ คุณจึงต้องมีระบบจัดการคลินิกควบคู่กับอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐาน ที่จะช่วยให้คุณบริหารจัดการงานคลินิกทุกด้านได้ง่ายขึ้น ครบ จบในที่เดียว
คำถามที่พบบ่อย
เปิดคลินิกความงามต้องมีอุปกรณ์อะไรบ้าง?
จะมีตั้งแต่เตียงทำหัตถการ สำหรับให้บริการทรีตเมนต์หรือฉีดสารต่าง ๆ เครื่องเลเซอร์/ทรีตเมนต์ผิว เช่น IPL, HIFU, Q-switch เป็นต้น เครื่องมือแพทย์เบื้องต้น เช่น เครื่องวัดความดัน และปรอทวัดไข้ ตู้เย็นเก็บยา สำหรับเก็บฟิลเลอร์ โบท็อกซ์ หรือเวชภัณฑ์
และยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ขึ้นอยู่กับบริการแต่ละคลินิกเพิ่มเติม เช่น ถ้าทำผิวพรรณ ต้องมีอุปกรณ์ดูแลผิวเฉพาะทางด้วย
ต้องซื้อเครื่องเลเซอร์เองทุกเครื่องไหม?
อาจไม่จำเป็นต้องซื้อเครื่องเลเซอร์เองทุกเครื่อง ขึ้นอยู่กับงบประมาณและกลยุทธ์ของคลินิก โดยมีทางเลือกหลัก ๆ ดังนี้:
- ซื้อขาด ที่ลงทุนสูงแต่คุมคุณภาพและกำไรได้เต็มที่ เหมาะกับเครื่องที่ใช้บ่อย
- เช่า จะช่วยให้ลงทุนน้อยในช่วงเริ่มต้น เหมาะกับคลินิกที่เพิ่งเริ่มและอยากลองตลาด
- จ้างแพทย์พร้อมเครื่อง ข้อดีคือไม่ต้องซื้อหรือเช่าเครื่องเอง เหมาะกับบริการเฉพาะทางหรือคลินิกที่ยังไม่มีแพทย์ประจำ
- แบ่งรายได้กับเจ้าของเครื่อง ไม่มีต้นทุนเครื่อง แต่ต้องเสียเปอร์เซ็นต์รายได้ตามตกลง
งบประมาณสำหรับอุปกรณ์เปิดคลินิกอยู่ที่เท่าไหร่?
งบประมาณสำหรับอุปกรณ์เปิดคลินิกความงามขึ้นอยู่กับขนาดบริการและประเภทเครื่องมือที่ใช้ โดยประมาณมีดังนี้ งบประมาณโดยรวม คลินิกขนาดเล็ก เริ่มต้นที่ประมาณ 500,000 – 1,500,000 บาท คลินิกขนาดกลาง มีเลเซอร์ 1–2 ตัว ประมาณ 2,000,000 – 5,000,000 บาท คลินิกขนาดใหญ่ ที่มีบริการครบ พร้อมตกแต่งสวย ประมาณ5,000,000 บาทขึ้นไป
สามารถซื้ออุปกรณ์มือสองได้หรือไม่?
สามารถซื้ออุปกรณ์มือสองได้ แต่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อความปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องตรวจสอบว่ามีเลขทะเบียน อย. ถูกต้องหรือไม่ หรือเครื่องใช้งานได้จริงหรือไม่ ต้องมีการเช็กสภาพ มีประวัติการใช้งาน และการซ่อมแซมที่โปร่งใส
ซื้ออุปกรณ์จากที่ไหนถึงจะปลอดภัย?
การซื้ออุปกรณ์คลินิกอย่างปลอดภัยควรเลือกจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ตัวแทนจำหน่ายที่ได้รับการแต่งตั้งจากแบรนด์โดยตรง
หรือ บริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย และตรวจสอบได้ว่ามีเลขทะเบียน อย.
ต้องใช้ระบบอะไรในการจัดการคลินิก?
ระบบที่ควรมีในการจัดการคลินิกความงามหรือคลินิกทั่วไป เช่น ระบบจัดการเวชระเบียน (EMR/EHR) ที่มีการบันทึกประวัติคนไข้ การรักษา รูปภาพ Before/After เปรียบเทียบผลการรักษา ระบบนัดหมายคนไข้ ที่จองคิว เตือนผ่าน SMS/LINE ลดปัญหาคิวหลุด เป็นต้น
ใครสามารถช่วยจัดหาอุปกรณ์ให้ครบแบบครบวงจร?
บริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์แบบครบวงจร และบริษัทรับเปิดคลินิกความงามแบบครบวงจร หรือที่ปรึกษาด้านธุรกิจคลินิก