การเปิดคลินิกถือเป็นหนึ่งเป้าหมายของคุณหมอหลายคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง ได้ดูแลคนไข้ตามแนวทางที่เชื่อมั่น หรือใครก็ตามที่อยากเป็นเจ้าของคลินิก โดยเฉพาะคลินิกความงามที่ค่อนข้างมีการเติบโตทางธุรกิจสูง พร้อมสร้างรายได้อย่างมั่นคงในระยะยาว แต่เมื่อคลินิกไม่ได้เป็นเพียงสถานที่รักษาโรคเท่านั้น ยังนับเป็นกิจการทางธุรกิจอย่างหนึ่ง การวางแผนเรื่องภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะภาษีที่เกี่ยวข้องกับคลินิกมีหลายประเภท และอาจส่งผลกระทบต่อรายได้ และกำไรของกิจการได้โดยตรง หากขาดการวางแผนที่ดี
ข้อสงสัยต่อมา ก็คือ แล้วการเปิดคลินิก เสียภาษีอย่างไร เสียภาษีแบบไหน จ่ายอย่างไร หรือการเปิดคลินิก ต้องเสียภาษีไหม ล้วนเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนเปิดคลินิก เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องภาษีย้อนหลัง ลดความเสี่ยงในการโดนเบี้ยปรับ หรือเสียภาษีเกินความจำเป็น บทความนี้จะพาทุกคนที่อยากเป็นเจ้าของคลินิก มาทำความเข้าใจโครงสร้างของภาษีสำหรับคลินิก รวมถึงแนวทางวางแผนภาษีอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น โปร่งใส และสร้างผลกำไรอย่างยั่งยืนในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ธุรกิจการแพทย์มีการแข่งขันสูง และต้องใช้ต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหารภาษีที่ดีจะช่วยให้คลินิกของคุณสามารถเติบโตได้โดยไม่สะดุด
4 เช็กลิสต์วางแผนภาษีสำหรับคุณหมอเจ้าของคลินิก
ชวนมาเช็กสิ่งสำคัญที่ต้องรู้ สำหรับวางแผนภาษีให้ง่ายขึ้นกัน ว่ามีอะไรบ้าง
1. หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสถานพยาบาล
ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า "คลินิก" ที่ดำเนินการอยู่นั้น เข้าเกณฑ์ของ "สถานพยาบาล" หรือไม่ เพราะจะมีผลต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเป็นสถานพยาบาล ประกอบไปด้วย
- ต้องจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
- ให้บริการรักษาโรค บำบัดโรค หรือส่งเสริมสุขภาพ โดยบุคลากรทางการแพทย์
- มีลักษณะเป็นธุรกิจให้บริการ ไม่ใช่การขายสินค้าเป็นหลัก
หากตรงตามเกณฑ์ดังกล่าว ธุรกิจของคุณจะถือเป็นสถานพยาบาล และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีบางประการได้ เช่น การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
2. เงินได้ของแพทย์
สำหรับแพทย์ที่เปิดคลินิกเอง รายได้ที่เกิดขึ้นจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- เงินเดือนและค่าตอบแทนประจำ ตามมาตรา 40(1) ซึ่งจะรวมเงินเดือน เงินจากการขึ้นเวร และค่า OT จากการทำงาน ซึ่งสามารถนำเงินได้ไปหักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้
- เงินได้บุคคลธรรมดา ตามมาตรา 40(2) เช่น ค่าตรวจรักษา ค่าผ่าตัด หรือค่าบริการทางการแพทย์อื่น ๆ ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมา 60% หรือหักตามจริง
- เงินได้จากคลินิก ตามมาตรา 40 (6) โดยหักค่าใช้จ่ายได้แบบเหมา 60% หรือหักตามจริงก็ได้
- เงินได้จากการประกอบธุรกิจ ตามมาตรา 40(8) หากคลินิกจ้างบุคลากร มีระบบการขายสินค้า หรือมีการขยายสาขา อาจเข้าข่ายธุรกิจเต็มรูปแบบ ต้องเสียภาษีแบบกิจการ
สรุปคือ หากคุณเป็นหมอที่เปิดคลินิกเอง รายได้จากการรักษาคนไข้ยังถือเป็นเงินได้ส่วนบุคคล แต่ถ้าคลินิกมีลักษณะเป็นธุรกิจ ก็ต้องเปลี่ยนมาคิดภาษีในรูปแบบกิจการหรือบริษัทนิติบุคคล
3. ประเภทของกิจการ
การเลือกประเภทกิจการจะมีผลต่อการเสียภาษีโดยตรง โดยสามารถเลือกได้ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา
- เหมาะกับหมอที่เริ่มต้นจากการเปิดคลินิกเล็ก ๆ หรือยังมีรายได้ไม่มาก
- เสียภาษีเงินได้ตามขั้นบันได
- ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 หรือ 91
2. ห้างหุ้นส่วน/บริษัท
- เหมาะกับคลินิกขนาดกลางถึงใหญ่ หรือมีหลายสาขา
- เสียภาษีนิติบุคคล 20% ของกำไรสุทธิ
- สามารถวางแผนค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ละเอียดขึ้น เช่น ค่าการตลาด เงินเดือน ค่าที่ปรึกษา ฯลง
ดังนั้นการวางแผนภาษีต้องเริ่มตั้งแต่การเลือกรูปแบบกิจการที่เหมาะสมกับเป้าหมายของคลินิก
4. วิธีวางแผนภาษีสำหรับแพทย์ที่ต้องการเปิดคลินิก
ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาเงินได้ และทำรายการทั้งหมดเพื่อวางแผนหักค่าใช้จ่าย และลดหย่อนภาษี โดยเริ่มจากการรวมรายได้ทั้งหมดในปีภาษี เช่น ค่าตรวจ ค่าผ่าตัด รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์สุขภา จากนั้นทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้เห็นโครงสร้างรายได้ และเตรียมวางแผนภาษี ตัวอย่างเช่น
- เลือกหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา ซึ่งคิดเป็น 60% ของรายได้
- หรือหักตามจริงโดยเก็บใบเสร็จทุกอย่าง เช่น ค่าเช่าที่ ค่าน้ำไฟ ค่าเวชภัณฑ์ ค่าแรงพนักงาน
- อย่าลืมใช้สิทธิค่าลดหย่อนต่าง ๆ เช่น ค่าประกันสุขภาพ บริจาค เงินลงทุน RMF/SSF
ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาผลประกอบการ และเสียภาษีตามที่ระบุไว้
- ถ้าเปิดคลินิกในรูปแบบบุคคลธรรมดา จะเสียภาษีแบบขั้นบันได 5-35%
- ถ้าเปิดในรูปแบบบริษัท จะเสียภาษีนิติบุคคล 20% ของกำไร
- หากมีการจ่ายเงินเดือนให้หมอหรือพนักงาน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่นแบบ ภ.ง.ด.1
- อย่าลืมยื่นแบบ ภ.พ.30 ถ้าคลินิกมีรายได้จากการขายสินค้าที่เข้าข่ายเสีย VAT
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณารายการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไข ซึ่งหมอที่เปิดคลินิกสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้หลากหลาย ซึ่งการใช้สิทธิให้ครบจะช่วยลดภาระภาษีได้มาก ไม่ว่าจะเป็น
- ลดหย่อนส่วนตัว คู่สมรส บุตร
- ค่าประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ
- เงินลงทุนในกองทุน RMF หรือ SSF
- บริจาคเพื่อการแพทย์หรือสาธารณกุศล
ขั้นตอนการคำนวนการจ่ายภาษี
ขั้นตอนที่ 1 พิจารณาเงินได้ และทำรายการทั้งหมดเพื่อวางแผนหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนภาษี
โดยเริ่มจากการรวบรวมรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในรอบปีภาษี เช่น ค่ารักษา ค่ายา รายได้จากบริการพิเศษต่าง ๆ แล้วจดบันทึกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ ไม่ว่าจะเป็น
- ค่าเช่าสถานที่
- เงินเดือนพนักงาน
- ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเทอร์เน็ต
- ค่าเวชภัณฑ์
- ค่าการตลาด
ซึ่งหากเป็นบุคคลธรรมดา อาจเลือกใช้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาหรือหักตามจริงก็ได้ แต่หากเป็นนิติบุคคล จะต้องใช้ค่าใช้จ่ายตามจริงทั้งหมด พร้อมเอกสารประกอบชัดเจน จากนั้นวางแผนเรื่องค่าลดหย่อนต่าง ๆ เช่น
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท)
- ประกันชีวิต หรือประกันสุขภาพ
- การลงทุนในกองทุน RMF/SSF
ขั้นตอนที่ 2 พิจารณาจากผลประกอบการ และเสียภาษีตามที่ระบุไว้
เมื่อสรุปรายได้และหักค่าใช้จ่ายแล้ว จะได้รายได้สุทธิ ซึ่งนำมาคำนวณภาษีตามประเภทของกิจการ ซึ่งการเลือกจดทะเบียนแบบใด จะส่งผลต่อยอดภาษี และวิธีการบริหารจัดการรายจ่ายโดยตรง
- ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา จะใช้อัตราภาษีก้าวหน้า 5–35%
- ถ้าเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล 20%
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาจากรายการลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไข
โดยหลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว ควรตรวจสอบว่ามีรายการลดหย่อนอะไรเพิ่มเติมได้อีกหรือไม่ เพื่อประหยัดภาษี ไม่ว่าจะเป็น
- เงินบริจาค ซึ่งสามารถหักได้ 2 เท่าในบางกรณี
- ค่าซื้ออุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับ Digital Health หรือการพัฒนาระบบคลินิก (ตามที่รัฐประกาศ)
สำหรับหมอเปิดคลินิก เสียภาษีอย่างไร เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบแบบเจาะลึก เพราะนอกจากจะเกี่ยวข้องกับรายได้โดยตรงแล้ว ยังต้องเข้าใจระบบภาษีให้ดีเพื่อลดความเสี่ยง และบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การจ่ายภาษีสำหรับเจ้าของคลินิกจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ และไม่ควรมองข้ามตั้งแต่แรก เพื่อให้สามารถวางแผน และสามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือในรูปแบบบริษัท ทำให้คุณหมอเจ้าของคลินิกเอง ก็สามารถจ่ายภาษีได้อย่างคุ้มค่า พร้อมต่อยอดคลินิกให้เติบโตอย่างมั่นคงได้
คำถามที่พบบ่อย
เปิดคลินิกเป็นเงินได้ประเภทใด
- เงินได้ตามมาตรา 40(8) กรณีเปิดคลินิกในชื่อของตนเอง (ธุรกิจส่วนตัว)
- เงินได้ตามมาตรา 40(4)(ข) กรณีเป็นหุ้นส่วนในคลินิกที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
- เงินได้ตามมาตรา 40(1) กรณีรับเงินเดือนจากคลินิกในฐานะพนักงาน
- เงินได้ตามมาตรา 40(2) กรณีรับจ้างทำหัตถการแบบเหมาบริการในคลินิกอื่น ๆ
รายได้เท่าไรต้องเสียภาษี 2568
เกณฑ์การเสียภาษีสำหรับผู้มีรายได้ประจำ ได้แก่
- รายได้สุทธิต่อปีไม่เกิน 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี
- รายได้สุทธิต่อปีเกิน 150,000 บาท ต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด
คลินิกต้องจด VAT ไหม
ขึ้นอยู่กับลักษณะของบริการและรายได้ของคลินิก ดังนี้
1. ไม่ต้องจด VAT
- ในกรณีคลินิกให้บริการทางการแพทย์เพื่อรักษาโรค เช่น ตรวจโรค ทำหัตถการ ผ่าตัด ฉีดยา ฯลฯ ซึ่งจะได้รับการยกเว้น VAT ตามมาตรา 81(1)(ฒ) แห่งประมวลรัษฎากร
- รายได้รวมทั้งปีไม่ถึง 1.8 ล้านบาท โดยไม่ถึงเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบการจด VAT ตามกฎหมาย
2. ต้องจด VAT ในกรณีที่ ให้บริการด้านความงามที่ไม่ใช่การรักษาโรค เช่น
- ฉีดวิตามินเพื่อความสวย ฟิลเลอร์หรือโบท็อกซ์เพื่อความงาม
- เลเซอร์หน้าใส
- โดย หากรายได้ ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT ภายใน 30 วัน
- ขายสินค้าเสริมความงามหรือยา ที่ไม่ได้ใช้เพื่อรักษาโรคโดยตรง โดยนับ เป็นการขายสินค้าที่ต้องเสีย VAT เช่นกัน
เปิดคลินิกต้องจดทะเบียนการค้าไหม
ต้องจดทะเบียนทะเบียนการค้า ในกรณีที่
- คลินิกมีการขายสินค้า เช่น เวชสำอาง, อาหารเสริม, ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ฯลฯ
- ให้บริการเสริมความงาม ที่ไม่ใช่การรักษาโรค เช่น เลเซอร์หน้าใส, โบท็อกซ์เพื่อความสวยงาม
แต่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนการค้า ในกรณีที่
- คลินิกให้บริการทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคเท่านั้น
- ดำเนินการในนาม แพทย์ หรือ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยตรง
คลินิก เสียภาษีอะไรบ้าง
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเปิดคลินิกในนามบุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีเปิดคลินิกในนามบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ กรณีมีรายได้จากการให้เช่าทรัพย์สิน
เปิดคลินิกพยาบาล เสียภาษีอย่างไร
- จดทะเบียนภาษี
- จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
- ยื่นภาษี
- จ่ายภาษีตามรอบ ถ้ามีการจ้างงาน ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย และยื่น ภ.ง.ด.1, 3, 53 ทุกเดือน
- กรณีต้องจด VAT ให้ยื่น ภ.พ.30 รายเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
- เก็บหลักฐานไว้ครบถ้วน เพื่อใช้ในการตรวจสอบหรือหักลดหย่อน