การจัดการด้านยาในคลินิกไม่ใช่เพียงเรื่องของการรักษา แต่ยังเป็นเรื่องของความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และการปฏิบัติตามกฎหมาย การมีฉลากยามาตรฐานคลินิกที่ชัดเจนและถูกต้อง คือหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน ลดความผิดพลาดในการใช้ยา และยังสร้างภาพลักษณ์ที่เป็นมืออาชีพให้กับคลินิกอีกด้วย นอกจากนี้ การมีเครื่องมือหรือระบบพิมพ์ฉลากยา จะช่วยให้สามารถพิมพ์ฉลากยาได้แม่นยำมากขึ้น
เราจะมาดูรายละเอียด และวิธีที่ทำฉลากยาให้ครบถ้วน ทั้งการทำฉลากยาตาม อย. และฉลากยาตาม สคบ. และวิธีทำแบบง่าย ๆ พร้อมรู้จักการใช้ระบบคลินิกที่ออกฉลากยาอัตโนมัติได้ในคลิกเดียว
ทำไมคลินิกต้องมีฉลากยาที่ได้มาตรฐาน ?
- ป้องกันความผิดพลาดในการใช้ยา เช่น ใช้ผิดขนาดหรือเวลา
- สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการว่าคลินิกมีมาตรฐาน
- เป็นข้อบังคับของหน่วยงานที่กำกับดูแล เช่น อย. และ สคบ.
- ลดความเสี่ยงทางกฎหมาย หากเกิดเหตุไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
ข้อมูลสำคัญบนฉลากยาที่ควรมี ตามมาตรฐาน สคบ. และ อย.
การจัดทำฉลากยาที่ถูกต้องและครบถ้วนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคลินิกทุกประเภท รวมทั้งคลินิกความงามด้วย โดยเป็นไปตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดข้อบังคับให้ฉลากยาต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย มาดูว่าฉลากยาต้องมีอะไรบ้าง
1. ชื่อยา ควรพิมพ์ให้ชัด ไม่สะกดผิด
- ชื่อสามัญทางยา (Generic Name) เป็นชื่อที่ใช้เรียกสารออกฤทธิ์หลักของยา เช่น Paracetamol หรือ Amoxicillin
- ชื่อทางการค้า (Brand Name) เช่น Tylenol หรือ Amoxil
2. รูปแบบยา ที่ช่วยให้ใช้ยาได้ถูกวิธี โดยต้องระบุว่าเป็นยาเม็ด แคปซูล ยาน้ำ ยาทา หรือยาหยอดตา ฯลฯ
3. ขนาดและวิธีใช้ยา ควรระบุอย่างชัดเจน เช่น
- รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเช้า-กลางวัน-เย็น
- หยอดตาข้างขวา 1 หยด ทุก 6 ชั่วโมง
- ระบุเงื่อนไขการใช้ยาให้ชัดเจน เช่น ห้ามเคี้ยวหรือหักยา
4. ชื่อผู้ป่วยเพื่อระบุตัวตนของผู้รับยาอย่างถูกต้อง ป้องกันการส่งยาผิดคน
5. วันที่จ่ายยา ระบุวัน/เดือน/ปี เพื่อติดตามประวัติการรับยา
6. วันหมดอายุของยา (Expiry Date)
- กำหนดวันหมดอายุของยาให้ชัดเจน
- หากเป็นยาที่จัดใหม่หรือแบ่งบรรจุให้ยึดตามวันหมดอายุเดิม
7. ปริมาณยา/จำนวนที่ให้ (Quantity Dispensed) เช่น 10 เม็ด หรือ 30 มล.
8. คำเตือนหรือข้อควรระวัง เช่น
- ห้ามใช้ร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- อาจทำให้ง่วงนอน ไม่ควรขับรถหรือใช้เครื่องจักร
- ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
- หากมีอาการแพ้ควรหยุดใช้ทันทีและพบแพทย์
9. ชื่อและที่อยู่ของคลินิก และหมายเลขโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้
10. ชื่อแพทย์หรือผู้จ่ายยา ในบางคลินิกอาจเลือกใส่ชื่อแพทย์ผู้จ่ายยาเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ หรือใช้สำหรับตรวจสอบย้อนหลัง
วิธีทำฉลากยาอย่างง่ายสำหรับเริ่มต้น
ขั้นตอนที่ 1 เตรียมแบบฟอร์มฉลากยา โดยอาจเริ่มจากใน Excel หรือ Word แล้วใส่ข้อมูลพื้นฐาน เช่น ชื่อยา วิธีใช้ และชื่อคลินิก
ขั้นตอนที่ 2 พิมพ์ฉลากยาลงบนสติกเกอร์ที่ทนต่อความชื้น แล้วพิมพ์ฉลากจากเครื่องพิมพ์ปกติ หรือใช้เครื่องพิมพ์เฉพาะสำหรับฉลากยา
ขั้นตอนที่ 3 ติดฉลากยาลงบนซอง กล่อง หรือขวดบรรจุ
หากต้องการความสะดวกมากขึ้น คลินิกสามารถใช้ระบบพิมพ์ฉลากยาจาก ProClinic ที่สามารถกรอกข้อมูลผู้ป่วย แล้วระบบจะพิมพ์ฉลากออกมาอัตโนมัติได้
ฉลากยาที่ดีควรมีหน้าตาแบบไหน ?
ฉลากยาที่ดี มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ความน่าเชื่อถือของคลินิก และความเป็นมาตรฐานของคลินิกทุกประเภท โดยเฉพาะคลินิกความงาม ในยุคที่ผู้บริโภคตระหนักถึงสิทธิของตนมากขึ้น และกฎหมายควบคุมการจ่ายยาก็เข้มงวดมากขึ้นเช่นกัน มาดูวิธีการจัดทำฉลากยาที่พร้อมส่งถึงมือลูกค้าในคลินิกของคุณกัน
1. ข้อมูลครบถ้วนตามกฎหมาย จากหัวข้อก่อนหน้าที่ฉลากยาต้องมีข้อมูลตามมาตรฐานของ อย. และ สคบ. ครบถ้วน เช่น ชื่อยา วิธีใช้ วันหมดอายุ คำเตือน ชื่อผู้ป่วย และข้อมูลคลินิก ก็ควรจัดเรียงให้เป็นระเบียบ ไม่ใช้คำย่อที่อาจทำให้ผู้ป่วยสับสน
2. รูปแบบตัวอักษรชัดเจน
- ใช้ฟอนต์มาตรฐานที่อ่านง่าย เช่น Tahoma, Arial หรือ TH Sarabun
- ขนาดอักษรไม่เล็กเกินไป โดยเฉพาะชื่อยาและวิธีใช้
- หลีกเลี่ยงตัวอักษรสีจางหรือการใช้สีพื้นที่ทำให้อ่านยาก
3. โครงสร้างการจัดวางข้อมูล
- ข้อมูลสำคัญควรอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นชัด เช่น ชื่อยาอยู่บนสุด วิธีใช้อยู่ตรงกลาง คำเตือนอยู่ด้านล่างสุด
- ใช้เส้นแบ่งหรือกล่องข้อความเพื่อแยกหมวดหมู่ข้อมูล
- มีไอคอนประกอบ เช่น สัญลักษณ์พระอาทิตย์สำหรับรับประทานตอนเช้า หรือพระจันทร์สำหรับก่อนนอน
4. วัสดุและคุณภาพของฉลาก
- ต้องพิมพ์ด้วยสติ๊กเกอร์คุณภาพดี ทนต่อความชื้นและการเสียดสี
- หมึกพิมพ์ชนิดกันน้ำ ไม่หลุดลอกง่าย
5. ติดฉลากให้เรียบร้อย
- ฉลากต้องติดแน่น ไม่เบี้ยว ไม่หลุดร่อน
- ถ้าเป็นขวดยาเล็ก ควรออกแบบฉลากให้ขนาดเหมาะกับภาชนะ
- ระบบพิมพ์ฉลากยาอัตโนมัติ จะช่วยให้ตำแหน่งคำฉลากสม่ำเสมอทุกอัน
6. มีแบรนดิ้งที่กลมกลืน
- โลโก้หรือชื่อคลินิก สามารถอยู่ในฉลากเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นเครื่องมือด้านแบรนดิ้ง ควรใช้สีของคลินิกหรือธีมที่สอดคล้องกับแบรนด์ แต่ต้องยังอ่านข้อมูลยาได้
ข้อดีของระบบพิมพ์ฉลากยาสำหรับคลินิกความงาม และคลินิกเวชกรรม
- เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลผู้ป่วยโดยตรง
- ดึงข้อมูลยา ชื่อผู้ป่วย และวิธีใช้จากระบบอัตโนมัติ
- ลดเวลาการกรอกข้อมูลซ้ำ และข้อผิดพลาดจากการคีย์ข้อมูลเอง
- เลือกแบบฟอร์มฉลากยาได้หลายแบบ เช่น ฉลากยาติดขวด หรือฉลากยาซองยา
ตัวอย่างฉลากยาประเภทต่าง ๆ ที่นิยมใช้ในคลินิก
1. ฉลากยาสำหรับยาเม็ดหรือยาแคปซูล
- ลักษณะ สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดประมาณ 4x6 ซม. หรือ 5x7 ซม.
- ภาชนะที่ใช้ เป็นซองยาหรือขวดยาเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก
- ข้อมูลที่มักระบุ
- ชื่อยา/ปริมาณ/วิธีรับประทาน
- ชื่อผู้ป่วย/วันที่จ่ายยา/วันหมดอายุ
- คำเตือน เช่น ห้ามใช้เกินขนาด หรือใช้รับประทานหลังอาหาร
2. ฉลากยาน้ำหรือยาทา
- ลักษณะ เป็นฉลากแนวตั้งหรือแนวนอนตามไซซ์ขวดยา
- ภาชนะที่ใช้ จะเป็นขวดหรือหลอดบรรจุยา
- ข้อมูลที่ต้องระบุ
- ปริมาณยา (ml) หรือความเข้มข้นของตัวยา
- วิธีใช้ เช่น ทาบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง หรือหยดครั้งละ 10 หยด
- คำเตือน เช่น เก็บในที่เย็น ห่างแสงแดด
3. ฉลากยาภายนอกหรือเวชสำอาง
- ลักษณะ มีขนาดกลางถึงใหญ่ ติดบนกระปุกครีม หรือขวด
- ภาชนะ เป็นได้ทั้งกระปุกครีม ขวดเซรั่ม หรือขวดสเปรย์
- ข้อมูลที่ระบุ
- ชื่อผลิตภัณฑ์/สรรพคุณ
- วิธีใช้
- คำเตือน เช่น ใช้ภายนอกเท่านั้น หรือห้ามทาบริเวณรอบดวงตา
- หมายเลข อย. หรือชื่อคลินิก
4. ฉลากยาสำหรับยาฉีด/ยาควบคุมพิเศษ
- ลักษณะ จะมีขนาดเล็ก ติดบนหลอดยา หลอดฉีด หรือบรรจุภัณฑ์พิเศษ
- ภาชนะที่ใช้ เป็นหลอดยา กล่องแช่เย็น หรือถุงบรรจุยาสำหรับเคลื่อนย้าย
- ข้อมูลที่มักระบุ
- ชื่อยา/โดสที่ใช้/หมายเลขล็อต
- วันที่เปิดใช้/วันหมดอายุ
- ผู้จ่ายยา/คำแนะนำเฉพาะ
5. ฉลากยาสำหรับยาเฉพาะบุคคล
- ลักษณะ เป็นฉลากที่ออกแบบตามคำสั่งแพทย์ เช่น ยาที่จัดเป็นชุดพิเศษหรือยาผสม
- ภาชนะที่ใช้ จะเป็นกล่องแบ่งยา หรือถุงซิป
- ข้อมูลที่มักระบุ
- รายละเอียดตัวยาครบถ้วน
- วิธีใช้ตามช่วงเวลา
- ข้อควรระวังเฉพาะรายบุคคล เช่น การแพ้ยา
ข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยงในการทำฉลากยา
- ลืมระบุวันหมดอายุ
- ใช้ฟอนต์ขนาดเล็กหรือสีที่อ่านยาก
- ไม่ระบุวิธีใช้ หรือเขียนไม่ชัดเจน
- เขียนมือแบบที่อ่านไม่ออก
- ไม่ตรวจสอบข้อมูลก่อนพิมพ์ เช่น ชื่อผู้ป่วยหรือชื่อยาสะกิดผิด
ระบบ ProClinic ทำฉลากยาอัตโนมัติ ง่ายในคลิกเดียว
ระบบ ProClinic ไม่ได้มีแค่ระบบเวชระเบียน หรือช่วยนัดหมายออนไลน์เท่านั้น แต่ยังมีฟังก์ชันเสริมที่สำคัญอย่างช่วยพิมพ์ฉลากยาอัตโนมัติ สำหรับคลินิกความงามโดยเฉพาะ
จุดเด่นของระบบพิมพ์ฉลากยาจาก ProClinic
1. เชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วย-ยา-ใบสั่งยาแบบครบวงจร โดยการดึงข้อมูลจากใบสั่งยาที่แพทย์กรอกไว้โดยอัตโนมัติ เพื่อสร้างฉลากยาที่แม่นยำ โดยไม่ต้องพิมพ์ซ้ำ และลดความผิดพลาดจากการกรอกข้อมูลได้
2. ปรับแต่งแบบฟอร์มฉลากยาได้เอง โดยที่คลินิกเพิ่มเติมได้ดังนี้
- ใส่โลโก้คลินิกลงไป
- กำหนดขนาดฉลากตามภาชนะบรรจุ เช่น ซองยา ขวดยา หรือกระปุกยาทา
- เพิ่มหรือลดข้อมูลในฉลาก เช่น คำเตือน วิธีใช้ หมายเลขล็อต
3.รองรับมาตรฐาน อย. และ สคบ. และ ProClinic ออกแบบฟอร์มฉลากให้ใส่ข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อยา วิธีใช้ และวันหมดอายุ
- ชื่อผู้ป่วย แพทย์ผู้สั่ง หมายเหตุ
4. ช่วยให้คลินิกออกฉลากยาตามมาตรฐาน
- พิมพ์ฉลากยาทันที รองรับเครื่องพิมพ์สติ๊กเกอร์ทั่วไป สั่งพิมพ์ได้ทันทีจากหน้าเวชระเบียนผู้ป่วย รองรับการเชื่อมต่อกับเครื่องพิมพ์ฉลากสติ๊กเกอร์หลากหลายรุ่น ไม่จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์อื่นเสริม
5. ประหยัดเวลา ทำงานง่ายในคลิกเดียว
- แพทย์กรอกใบสั่งยา กดพิมพ์ แล้วฉลากก็พร้อมติดได้ทันที
- เหมาะสำหรับคลินิกที่ต้องการระบบหลังบ้านที่เร็ว ชัดเจน และลดขั้นตอนซ้ำซ้อน
การทําฉลากยาที่ถูกต้องไม่เพียงแต่ช่วยลดความผิดพลาดในการจ่ายยา แต่ยังเป็นการยกระดับมาตรฐานของคลินิกให้ดูน่าเชื่อถือ และถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งมาตรฐานของ อย. และ สคบ. ปัจจุบันการใช้ระบบพิมพ์ฉลากยาช่วยให้คลินิกสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก ประหยัดเวลา และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย หากคุณกำลังมองหาระบบคลินิกที่ออกฉลากยาได้อย่างมืออาชีพ ระบบ ProClinic คือคำตอบที่ครบจบในคลิกเดียว
คำถามที่พบบ่อย
สามารถพิมพ์ฉลากยาเองได้ไหม ?
สามารถพิมพ์ฉลากยาเองได้ หากคลินิกมีระบบที่ระบุข้อมูลได้ครบถ้วนและตรงตามเกณฑ์ของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)
ต้องติดฉลากยาทุกครั้งหรือเฉพาะบางประเภท ?
ต้องติดฉลากยาทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นยาแผนปัจจุบันหรือยาแผนโบราณ หากมีการแบ่งบรรจุยาหรือจ่ายยาให้ผู้ป่วยเป็นรายบุคคล
ฉลากยาแบบเขียนมือยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ?
ฉลากยาแบบเขียนมือยังสามารถใช้ได้อยู่ โดยไม่ผิดกฎหมาย หากมีข้อมูลครบถ้วนตามที่ อย. และ สคบ. กำหนด ซึ่ง ข้อมูลที่จำเป็นบนฉลากยา มีดังนี้ ชื่อยา (สามัญ/การค้า) วิธีใช้ยา ขนาดยา/ปริมาณ/จำนวน เป็นต้น
ต้องระบุชื่อยาแบบชื่อการค้าหรือชื่อสามัญ ?
ต้องระบุชื่อสามัญทางยา (Generic Name) บนฉลากยา หากเป็นไปได้ควรระบุทั้งชื่อสามัญและชื่อการค้าเพื่อความชัดเจนและปลอดภัยของผู้ป่วย
กรณีให้ยาเป็นชุดคอร์ส ต้องออกฉลากทุกกล่องหรือรวมในชุดเดียว ?
ต้องออกฉลากยาแยกตามกล่องหรือภาชนะบรรจุที่ให้ผู้ป่วยนำกลับบ้าน แม้จะเป็นยาในชุดคอร์สเดียวกันก็ตาม ตามประกาศของ อย. และ สคบ. ยาทุกชนิดที่จำหน่ายหรือจ่ายให้ผู้ป่วยต้องมีฉลากที่ระบุข้อมูลชัดเจน ครบถ้วนตามมาตรฐาน และเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ในกรณีที่ต้องกินยาแต่ละตัวต่างเวลา ต่างวิธี หรือหากผู้ป่วยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับยาแต่ละชนิด
Copyright © 2025 Proclinic Group Co., Ltd. All rights reserved.
Published on : May 10, 2025